ประโยคสี่เจอประโยคหก
มีเรื่องราวดีๆ ก็อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เช้าวันนี้ วันอาทิตย์ การจราจรในกรุงเทพมหานครค่อนข้างโล่ง ขับรถสบายๆ
โล่งจนลืมไปว่าเลนของถนนที่วิ่งอยู่คือเลนของรถประจำทางเท่านั้น วิ่งไปก็แปลกใจไป ทำไม? เราวิ่งอยู่คนเดียว พรรคพวกหายไปไหนหมด ในที่สุดก็โดน ป้อมอยู่ข้างหน้าพอดี เจ้าหน้าที่ยืนรออยู่แล้ว กวักมือเรียกเลย ทันทีที่เปิดกระจกรถด้านซ้ายมือลง คำถามคือ "มายังไงครับ" คำถามและน้ำเสียงถือว่าสุภาพ แตกต่างจากหลายครั้งที่เคยได้ยิน
"มาจากวัด ออกมาก็วิ่งตรงยาวเลย" ตอบเจ้าหน้าที่ไป
"ขอใบขับขี่ครับ แล้วจอดชิดซ้าย" จัดไป พูดง่าย ยื่นใบขับขี่ให้แล้วไปจอดรอ
จอดรอเกือบถึง 5 นาทีได้ ไม่เห็นเจ้าหน้าที่เดินออกมาจากป้อมเลย เอาไงแน่ ต้องไปเจรจาแล้วละ เราก็ซื่อบอกให้จอดนี่น่า ไม่ได้บอกว่า จอดแล้วให้เข้าไปหาในป้อม แต่รอนานเกิน ไปคุยสักหน่อย
"ดูใบขับขี่ หน้าคุ้นๆ นามสกุลคุ้นๆ นะ รู้จักสารวัตร (บอกชื่อพร้อมนามสกุล)มั๊ย? นามสกุลเหมือนกันเลย แต่ย้ายไปแล้ว" เออดีจัง เข้าไปหาที่ป้อมชวนคุยเลย แตกต่างอีกละจากที่เคยเจอ
บางส่วนของคำสนทนา
"ไม่รู้นะ นามสกุลนี้มีเยอะ"
"มาจากจังหวัดไหน"
"เลย"
"สารวัตรมาจาก มุกดาหาร หรือสกล นี่แหละ"
"ก็ประมาณนั้น แสนโคตร มุกดาหาร สกล แล้วก็ เลย นี่แหละ"
"ไปวัดไหนมา"
"วัดใกล้ๆ นี่แหละ เคยบวชตอนเป็นเณร"
"วัดราชา เหรอ"
"ไม่ใช่ วัดนรนาถ"
"บวชนานมั๊ย"
"ก็ประโยคสี่อยู่นะ"
"เหรอ ผมประโยคหก วัดดาวดึงส์ มาจากอุดร เรียนมหาจุฬาได้ 2 ปี ไม่จบ สอบติดตำรวจ เขาให้ฆราวาสเรียนมั๊ยทุกวันนี้"
"น่าจะมีให้เรียนนะ ไปต่อให้จบสิ น่าจะต่อได้เลย"
จะจับหรือคุย คิดในใจ คุยอะไรกันอีกเยอะมาก ถามโน่นนี่นั่น รู้จักคนนั้นคนนี้มั๊ยสารพัด สายวัดเหมือนกันนี่เอง ถึงคุยเรื่องเดียวกันได้อย่างเข้าใจ ความเป็นกันเองเริ่มมีมาตั้งแต่บอกกันถึงประโยคสี่ ประโยคหก คุยไปก็ลุ้นไป ว่าจะลงเอยอย่างไร ประโยคสี่เป็นประชาชนธรรมดา และ กำลังทำผิดกฎจราจร ส่วนประโยคหกเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกว่า ตำรวจ และสิ่งที่ถืออยู่ในมือคือใบสั่ง
ประโยคหก "ทำไมลงจากรถมาช้าจัง ผมเขียนใบสั่งไปแล้ว"
ประโยคสี่ "ไม่รู้ คิดว่าให้จอดรอในรถ"
ขณะคุยกันอยู่มีเจ้าหน้าที่อีกท่านเดินเข้ามา
ประโยคหก "เอ้า ไปเถอะลูกพี่"
ประโยคสี่ รับใบขับขี่คืน "ขอบคุณมาก"
กลับไปที่รถ ขับไปต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น รอดเพราะอะไร? น่าคิดเหมือนกัน แสนโคตร หรือ? หรือว่า ประโยคสี่ ช่างเถอะ สิ่งที่ได้คือความรู้สึกดีๆ ไม่ได้อ่านใบสั่งว่าข้อหาอะไร แต่น่าจะเป็นข้อหาฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร ยอมรับผิด เผลอไปขับในเลนรถประจำทางจริงๆ โทษน่าจะมีบัญญัติไว้อยู่แล้ว แต่มักจะมีบอกต่อไปอีกว่าให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ จะคิดเสียว่า ท่านมหาตำรวจท่านนี้ มีดุลยพินิจที่เป็นเลิศ รถโล่ง ขับมาก็ไม่ได้กีดขวางอะไรใคร แค่ตักเตือนบอกกล่าวกันก็น่าจะเพียงพอแล้ว
โชคดีที่เจอตำรวจน้ำดี จะบอกว่าน้ำไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะตำรวจท่านนี้ไม่ใช่ตำรวจธรรมดา มีความรู้ด้านศาสนาถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค ขณะพูดคุยรู้สึกได้ถึงความเยือกเย็น ความละมุ่นละม่อน ตลอดจนท่าทีที่แตกต่างจากที่เคยได้เห็น อยากให้มีตำรวจแบบนี้เยอะๆ ประชาชนอุ่นใจ แต่ ประโยคหก ก็บอกเหมือนกัน "มาเป็นตำรวจไม่ค่อยมีหรอก ส่วนมากเป็นครูบาอาจารย์กัน ที่ยังไม่สึกก็เป็นเจ้าฟ้าเจ้าคุณกันหมด" ก็คงตามนั้น
คิดถึงคำพูดแรกๆ ที่ประโยคหกบอกว่า หน้าคุ้นๆ อาจเป็นไปได้ที่ประโยคหกจะรู้จักประโยคสี่ ด้วยเหตุที่เป็น สายวัด และเหมือนจะรุ่นราวคราวเดียวกัน เสียดายที่ประโยคสี่ ไม่ได้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริงของประโยคหก เนื่องจากมีผ้าปิดปากและจมูกเอาไว้
นำมาเล่าให้ฟังเพราะอะไร? สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ก็แล้วกัน ตำรวจดีๆ นั้นยังไงก็ยังมีอยู่ และไม่น้อยกว่าตำรวจที่ไม่ดี กรณีนี้ไม่ใช่จะมาบอกว่าดีเพราะเขาคืนใบขับขี่ให้ มีอะไรดีมากกว่านั้น อัธยาศัยดี ท่าทีดี พูดจาดี ที่สำคัญเลยก็คือค่อนข้างมั่นใจสำหรับตำรวจท่านนี้ที่เขามีความรู้ทางธรรมถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค ซึ่งจะคอยย้ำเตือนอยู่เสมอเมื่อเขาจะทำไม่ดี หิริ และ โอตัปปะ คุณธรรมสำคัญสองข้อนี้คิดว่าเขาคงไม่มีวันลืม
ดีใจที่ ประโยคสี่เจอประโยคหก แล้วก่อเกิดให้มีเรื่องราวอันดีต่อใจเช่นนี้ไว้ให้จดจำและบอกต่อ
"มาจากวัด ออกมาก็วิ่งตรงยาวเลย" ตอบเจ้าหน้าที่ไป
"ขอใบขับขี่ครับ แล้วจอดชิดซ้าย" จัดไป พูดง่าย ยื่นใบขับขี่ให้แล้วไปจอดรอ
จอดรอเกือบถึง 5 นาทีได้ ไม่เห็นเจ้าหน้าที่เดินออกมาจากป้อมเลย เอาไงแน่ ต้องไปเจรจาแล้วละ เราก็ซื่อบอกให้จอดนี่น่า ไม่ได้บอกว่า จอดแล้วให้เข้าไปหาในป้อม แต่รอนานเกิน ไปคุยสักหน่อย
"ดูใบขับขี่ หน้าคุ้นๆ นามสกุลคุ้นๆ นะ รู้จักสารวัตร (บอกชื่อพร้อมนามสกุล)มั๊ย? นามสกุลเหมือนกันเลย แต่ย้ายไปแล้ว" เออดีจัง เข้าไปหาที่ป้อมชวนคุยเลย แตกต่างอีกละจากที่เคยเจอ
บางส่วนของคำสนทนา
"ไม่รู้นะ นามสกุลนี้มีเยอะ"
"มาจากจังหวัดไหน"
"เลย"
"สารวัตรมาจาก มุกดาหาร หรือสกล นี่แหละ"
"ก็ประมาณนั้น แสนโคตร มุกดาหาร สกล แล้วก็ เลย นี่แหละ"
"ไปวัดไหนมา"
"วัดใกล้ๆ นี่แหละ เคยบวชตอนเป็นเณร"
"วัดราชา เหรอ"
"ไม่ใช่ วัดนรนาถ"
"บวชนานมั๊ย"
"ก็ประโยคสี่อยู่นะ"
"เหรอ ผมประโยคหก วัดดาวดึงส์ มาจากอุดร เรียนมหาจุฬาได้ 2 ปี ไม่จบ สอบติดตำรวจ เขาให้ฆราวาสเรียนมั๊ยทุกวันนี้"
"น่าจะมีให้เรียนนะ ไปต่อให้จบสิ น่าจะต่อได้เลย"
จะจับหรือคุย คิดในใจ คุยอะไรกันอีกเยอะมาก ถามโน่นนี่นั่น รู้จักคนนั้นคนนี้มั๊ยสารพัด สายวัดเหมือนกันนี่เอง ถึงคุยเรื่องเดียวกันได้อย่างเข้าใจ ความเป็นกันเองเริ่มมีมาตั้งแต่บอกกันถึงประโยคสี่ ประโยคหก คุยไปก็ลุ้นไป ว่าจะลงเอยอย่างไร ประโยคสี่เป็นประชาชนธรรมดา และ กำลังทำผิดกฎจราจร ส่วนประโยคหกเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกว่า ตำรวจ และสิ่งที่ถืออยู่ในมือคือใบสั่ง
ประโยคหก "ทำไมลงจากรถมาช้าจัง ผมเขียนใบสั่งไปแล้ว"
ประโยคสี่ "ไม่รู้ คิดว่าให้จอดรอในรถ"
ขณะคุยกันอยู่มีเจ้าหน้าที่อีกท่านเดินเข้ามา
ประโยคหก "เอ้า ไปเถอะลูกพี่"
ประโยคสี่ รับใบขับขี่คืน "ขอบคุณมาก"
กลับไปที่รถ ขับไปต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น รอดเพราะอะไร? น่าคิดเหมือนกัน แสนโคตร หรือ? หรือว่า ประโยคสี่ ช่างเถอะ สิ่งที่ได้คือความรู้สึกดีๆ ไม่ได้อ่านใบสั่งว่าข้อหาอะไร แต่น่าจะเป็นข้อหาฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร ยอมรับผิด เผลอไปขับในเลนรถประจำทางจริงๆ โทษน่าจะมีบัญญัติไว้อยู่แล้ว แต่มักจะมีบอกต่อไปอีกว่าให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ จะคิดเสียว่า ท่านมหาตำรวจท่านนี้ มีดุลยพินิจที่เป็นเลิศ รถโล่ง ขับมาก็ไม่ได้กีดขวางอะไรใคร แค่ตักเตือนบอกกล่าวกันก็น่าจะเพียงพอแล้ว
โชคดีที่เจอตำรวจน้ำดี จะบอกว่าน้ำไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะตำรวจท่านนี้ไม่ใช่ตำรวจธรรมดา มีความรู้ด้านศาสนาถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค ขณะพูดคุยรู้สึกได้ถึงความเยือกเย็น ความละมุ่นละม่อน ตลอดจนท่าทีที่แตกต่างจากที่เคยได้เห็น อยากให้มีตำรวจแบบนี้เยอะๆ ประชาชนอุ่นใจ แต่ ประโยคหก ก็บอกเหมือนกัน "มาเป็นตำรวจไม่ค่อยมีหรอก ส่วนมากเป็นครูบาอาจารย์กัน ที่ยังไม่สึกก็เป็นเจ้าฟ้าเจ้าคุณกันหมด" ก็คงตามนั้น
คิดถึงคำพูดแรกๆ ที่ประโยคหกบอกว่า หน้าคุ้นๆ อาจเป็นไปได้ที่ประโยคหกจะรู้จักประโยคสี่ ด้วยเหตุที่เป็น สายวัด และเหมือนจะรุ่นราวคราวเดียวกัน เสียดายที่ประโยคสี่ ไม่ได้เห็นโฉมหน้าที่แท้จริงของประโยคหก เนื่องจากมีผ้าปิดปากและจมูกเอาไว้
นำมาเล่าให้ฟังเพราะอะไร? สรุปสั้นๆ ง่ายๆ ก็แล้วกัน ตำรวจดีๆ นั้นยังไงก็ยังมีอยู่ และไม่น้อยกว่าตำรวจที่ไม่ดี กรณีนี้ไม่ใช่จะมาบอกว่าดีเพราะเขาคืนใบขับขี่ให้ มีอะไรดีมากกว่านั้น อัธยาศัยดี ท่าทีดี พูดจาดี ที่สำคัญเลยก็คือค่อนข้างมั่นใจสำหรับตำรวจท่านนี้ที่เขามีความรู้ทางธรรมถึงเปรียญธรรม 6 ประโยค ซึ่งจะคอยย้ำเตือนอยู่เสมอเมื่อเขาจะทำไม่ดี หิริ และ โอตัปปะ คุณธรรมสำคัญสองข้อนี้คิดว่าเขาคงไม่มีวันลืม
ดีใจที่ ประโยคสี่เจอประโยคหก แล้วก่อเกิดให้มีเรื่องราวอันดีต่อใจเช่นนี้ไว้ให้จดจำและบอกต่อ